วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553



การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ชาวยุโรปเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายและเผยแผ่ศาสนากับชาวเอเชียมาตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 21 ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้ความต้องการสินค้าและตลาดการค้ามากขึ้น พ่อค้าชาวโปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศส เดินทางมามีสัมพันธ์ไมตรีกับกรุงสยามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ระยะนั้นชาติตะวันตกไม่ได้มุ่งที่จะยึดครองจนเป็นเมืองขึ้น ลัทธิจักรวรรดินิยมหรือลัทธิ ล่าอาณานิคม กลายเป็นนโยบายสำคัญของชาติตะวันตกในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 และประเทศต่างๆในทวีปเอเชียพากันได้รับผลกระทบรวมทั้งประเทศ ไทยด้วย ในรัชสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 3) อังกฤษ ฝรั่งเศส มีอำนาจมาก อังกฤษทำสงครามชนะพม่า ชนะจีนในสงครามฝิ่น และขยายอิทธิพลเข้าไปในมลายู โดยเจรจาขอให้ไทยยอมรับฐานะของอังกฤษในปีนัง และขอแก้ไขการค้าที่ไทยผูกขาด อยู่ต่อมาส่ง ร.อ.เฮนรี่ จอห์นเบาริ่ง เป็นผู้นำ รัชกาลที่ 4 ทรงทราบสภาวการณ์ขณะนั้นและทรงพิจารณาอย่างรอบคอบจึงทรงเตรียมต้อนรับคณะทูตอย่างสมเกียรติ การเจรจาบรรลุข้อตกลง เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 สนธิสัญญาเบาริง
มีสาระสำคัญสรุปว่า
1. ไทยกับอังกฤษจะเป็นมิตรต่อกัน
2. ไทยยอมให้อังกฤษตั้งสถานกงสุลในกรุงเทพฯได้
3. คนอังกฤษตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยได้ตามที่ต้องการ
4. ให้เลิกภาษีปากเรือแล้วเก็บภาษีขาเข้าร้อยละ 3 แทน
5. อังกฤษต้องได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ ที่ไทยให้แก่ประเทศอื่น
6. สนธิสัญญานี้ไม่มีกำหนดเวลา ผลของสนธิสัญญานี้ทำให้ไทยต้องเปิดประตูการค้ากับยุโรป อำนาจรัฐที่เคยผูกขาดการค้าหมดไปที่สำคัญคือ ไทยต้องสูญเสียสิทธิ ิสภาพนอกนอกอาณาเขตให้แก่อังกฤษ ในระยะเวลาเดียวกันนี้ฝรั่งเศสก็เข้าไปมีอิทธิพลในเขมรจนไทยต้องยอมรับว่าเขมรอยู่ในอาณัติของฝรั่งเศส และยกเลิก ข้อตกลงที่ว่าเขมรเป็นเมืองขึ้นของไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5) อังกฤษผนวกพม่าเป็นของตน ฝรั่งเศสขยายอำนาจเหนือดินแดนลาว และเสนอให้ไทยเป็นรัฐกันชนระหว่างเมืองขึ้นของอังกฤษกับฝรั่งเศส ระหว่างยึดดินแดนลาวเจ้าหน้าที่ไทยขัดขวาง ฝรั่งเศสจึงส่งเรือรบมาปิดปากอ่าวไทย และเกิดสู้รบกัน ฝรั่งเศสเรียกร้องขอดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ขอค่าปรับ 3 ล้านฟรังค์ และยึดจันทรบุรีไว้เป็นประกัน ไทยไม่อาจต้านทานได้ รัชกาลที่ 5 จำต้องยอมรับข้อเรียกร้องโดยไม่มีเงื่อนไข เรียกเหตุการณ์นี้ว่า วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ทรงพยายามสร้างความมั่นคงให้ประเทศโดยเสด็จประพาสยุโรปเพื่อ ผูกมิตรไมตรีเพื่อแสดงท่าทีเป็นกลางโดยเคร่งครัด จนนานาชาติสรรเสริญพระปรีชาสามารถและให้เกียรติไทยเสมอนานาอารยประเทศ ยุโรปยุติความคิด จะยึดครองไทย อย่างไรก็ตามไทยยังต้องสูญเสียดินแดนอีกในปี พ.ศ. 2450 คือเสียพระตะบอง เสียมราฐให้ฝรั่งเศส และ พ.ศ. 2452 เสียกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ปะลิส ให้อังกฤษ ประเทศไทยยังคงรักษาเอกราชไว้ได้
สาเหตุสำคัญเนื่องจาก
1. มีความมั่นคงภายในประเทศทั้งด้านกำลังทหาร การเมือง และเศรษฐกิจ
2. พระมหากษัตริย์ทรงมีพระปรีชาสามารถ อาทิ รัชกาลที่3 มีพระปรีชาด้านการบริหาร รัชกาลที่ 4 ทรงแตกฉาน วิทยาการของ ตะวันตก และทรงมีความสามารถทางการทูต รัชกาลที่ 5ทรงเป็นผู้นำคนรุ่นใหม่ที่ศึกษาวิทยาการตะวันตกและสามารถผูกมิตรกับตะวันตก ได้
3. มหาอำนาจแข่งขันกันเอง โดยตกลงให้ไทยเป็นรัฐกันชนการคุกคามของจักวรรดินิยมตะวันตกทำให้ไทยปรับปรุง ประเทศครั้งใหญ่เพื่อให้ทันสมัย การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินและพัฒนาระบอบประชาธิปไตย รัชกาลที่ 5 ทรงตั้ง สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ขึ้นในปี พ.ศ. 2417 เพื่อถวายคำปรึกษางานราชการแผ่นดินและยับยั้งหากพระมหากพระราชดำริของพระองค์ไม่เหมาะสม และทรงตั้งสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ขึ้นด้วย เรียกว่า สภาองคมนตรี ต่อมาได้มีกลุ่มบุคคลกราบบังคมทูลเสนอแนวคิด ประชาธิปไตยแบบตะวันตกและขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ แต่ทรงพิจารณาว่าในขณะนั้นยังไม่เหมาะสม การเปลี่ยนแปลงไม่อาจทำในทันทีได้ แต่ทรงมี ีพระราชดำริปรับปรุงการบริหารราชการแผ่นดินก่อน ด้วยการยกเลิกการปกครองแบบจตุสดมภ์และหัวเมืองแบบเดิม มาเป็นการจัดระเบียบบริหารราชการ แผ่นดินส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นแทน โดย
ส่วนกลาง จัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม ครั้งแรก มี 12 กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย กลาโหม การต่างประเทศ นครบาล เกษตรพนิชการ พระคลังมหาสมบัติ วัง ยุติธรรม ยุทธนาธิการ โยธาธิการ ธรรมการ และมุรธาธร
ส่วนภูมิภาค จัดปกครอง แบบเทศาภิบาล รวมหลายเมืองเป็นมณฑลแยกย่อยเป็นเมือง อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ส่วนท้องถิ่น ทรงจัดตั้งสุขาภิบาลแห่งแรก ที่ตำบลท่าฉลอม สมุทรสาคร โดยให้กรรมการในท้องถิ่นรับผิดชอบกันเอง ไทยได้รับอิทธิพลแนวความคิดแบบประชาธิปไตยจากตะวันตก มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 และได้มีการเรียกร้องให้กษัตริย์อยู่ภาใต้รัฐธรรมนูญ จากกลุ่ม ร.ศ. 103 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงเห็นว่าขณะนั้นยังไม่พร้อม ความคิดประชาธิปไตยนี้แพร่ขยายไปสู่ข้าราชการและสามัญชน ในสมัยพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 6) ก็ยังมิได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแต่ทรงสร้างเมืองจำลองดุสิตธานี ขึ้นเพื่อทดลองรูปแบบประชาธิปไตย ต่อมาเกิดการ รวมตัวของทหารและพลเรือนเพื่อจะลดอำนาจกษัตริย์ และเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือ กลุ่ม ร.ศ. 130 แต่ถูกจับกุมก่อน ระยะนี้หนังสือพิมพ์มีเสรีภาพมาก และเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 7 ความต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองทวีความรุนแรงขึ้น ทรงมีพระราชดำริ ิพระราชทานรัฐธรรมนูญ แต่พระบรมวงศานุวงศ์คัดค้าน ทรงตั้งอภิรัฐมนตรีสภาขึ้นเป็นที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ สภาวะทางเศรษฐกิจตกต่ำทหให้ ต้องปลดข้าราชการออกและลดรายจ่ายส่วนพระองค์ ซึ่งไม่เป็นที่พอใจของราษฎรและเกิดการรวมตัวกันของ คณะราษฎร ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการ พลเรือน ทหารบกและทหารเรือ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้เข้ายึดสถานที่สำคัญของราชการ แล้วประกาศเปลี่ยนแปลงการ ปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎสูงสุดและพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ การยึดอำนาจครั้งนี้ไม่มีการต่อต้าน รัฐกาลที่ 7 ทรงยอมรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ และในวันที่ 27 มิถุนายน 2475 ทรงลงประปรมาภิไธย ใน พระราช บัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วชคราว และทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบัยถาวร เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 การเปลี่ยนแปลง ครั้งนี้ก่อให้เกิดระบบการเมืองแบบใหม่ที่มีรัฐสภาทำหน้าที่ฝ่านนิติบัญญัติ คณะรัฐมนตรีทำหน้าที่ ฝ่ายบริหาร และศาลทำหน้าที่ด้านตุลาการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น