วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินในปัจจุบัน
ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ที่บังคับใช้เป็นกฏหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แทนพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มิได้มีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญเกี่ยวกับการจัดระเบียบราชการบริหารที่ยังคงจัดโครงสร้างหลักของการจัดระเบียบการบริหารราชการเป็นส่วนกลาง - ส่วนภูมิภาค - ส่วนท้องถิ่น เช่นเดิมโครง สร้าง กระทรวง ทบวง กรม ยังคงสภาพเดิมการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการของระบบบริหารราชการ จึงยังไม่บังเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน
การจัดระเบียบบริหารราชการตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 จึงยัง ไม่สามารถตอบสนองภารกิจ และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาที่รัฐต้องเผชิญเพิ่ม มากขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพรัฐบาลภายใต้การนำ ของ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินความพยายามในการปรับปรุงแก้ไข โดยการแต่งตั้งคณะ กรรมการปฏิรูประบบและโครงสร้างของส่วนราชการ ซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการและ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่เกี่ยวเนื่องกัน เพื่อพิจารณาดำเนินการศึกษาและเสนอแนะแนว ทางในการปฏิรูประบบราชการ ซึ่งคณะกรรมการได้เสนอให้มีการปรับปรุงโครงสร้างของระบบบริหารราชการแผ่นดิน โดยกำหนดความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างราชการ ส่วนกลาง-ส่วนภูมิภาค-ส่วนท้องถิ่นและเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นตั้งหน่วย การปกครองท้องถิ่นของตนได้เมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วนรวมทั้งได้มีการเสนอให้มีการ ปรับปรุงในรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดระเบียบบริหารราชการในแต่ละส่วนด้วย
นอกจากนี้นักวิชาการหลายท่านได้ทำการศึกษาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการ ปรับปรุงระบบราชการที่น่าสนใจ อาทิเช่น
กระมล ทองธรรมชาติ ศึกษาพบว่ามีปัญหาความซ้ำซ้อนกันภายในโครงสร้างของระบบบริหารราชการระหว่างกระทรวง แม้ภายในกระทรวงเดียวกันหรือกรมเดียว กันก็มีปัญหา (แม้ว่ารัชกาล ที่ 5 จะทรงปฏิบัติระบบราชการเพื่อขจัดความซ้ำซ้อนใน ด้านพื้นที่และหน้าที่)
ทั้งนี้ ถ้าจะทำการปฏิรูปต้องปฏิรูปที่โครงสร้างทั้งหมดทั้งโครงสร้างระหว่างกระทรวงโครงสร้างภายในกระทรวงและโครงสร้างภายในกรม
เช่นเดียวกับการศึกษาของวรเดช จันทรศร ที่ศึกษาพบว่านับแต่มีการปฏิรูประบบ ราชการในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. 2435 เป็นต้นมาระบบราชการยังไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ทั้งระบบอีกเลย การเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหน่วยงาน (เพิ่มกรม/กอง) โดยที่ระบบราชการไทย นั้น มีแนวโน้มที่จะขยายตัวมากขึ้นเพื่อจะสนองตอบต่อผลประโยชน์ของตนเองส่วนหนึ่ง ในขณะเดียวกันนั้นก็เพื่อตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศควบคู่กันไปด้วย จากปี พ.ศ.2476 ซึ่งมีจำนวนกรม 45 กรมขยายเป็น 102กรม ในปี 2512 และมาก กว่า120 กรมในปี2534 และมีกองถึงกว่า1,300 กองนอกจากนี้การจัดตั้งกรม /กอง ขึ้นใหม่ มีลักษณะเป็นการตั้งขึ้นใหม่จากหน้าที่ซึ่งมีอยู่แล้วมากกว่าตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ใหม่ซึ่งไม่เคยปฏิบัติมาก่อนแต่เป็นงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของ กรม/กระทรวงอื่นอยู่ แล้ว งานจึงซ้ำซ้อนกัน
ประเวศ วะศีได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาสำคัญของระบบราชการไทยว่ามีโครงสร้างที่เน้น การรวบรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางมากเกินไปทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วม ในการคิดในการดำเนินงานได้ รวมทั้งระบบราชการเน้นในเรื่องการควบคุมงานภายใน รูปของระเบียบต่าง ๆ มากกว่าหน้าที่ผลงาน จึงควรปรับปรุงโครงสร้างระบบราชการ เสียใหม่โดยลดอำนาจข้าราชการและคืนอำนาจตัดสินใจให้ประชาชน
อมรา รักษาสัตย์ และถวัลย์ วรเทพพุฒิพงษ์และคณะ ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ การปรับปรุงระบบของราชการ ด้านการจัดองค์การพบว่า การจัดองค์การราชการก่อให้เกิดปัญหาสำคัญคือโครงสร้างระบบราชการขาดความยืดหยุ่นไม่สามารถ รับภารกิจรัฐบาลในสังคมใหม่ได้โครงสร้างอำนาจการตัดสินใจมีลักษณะรวมอำนาจไว้ในส่วนกลาง กระทรวงขาดเอกภาพในการบริหารงาน ไม่สามารถผนึกกำลังของกรม เพื่อแก้ปัญหา หลักของชาติ
ข้อสรุปสำคัญจากการประเมินผลการพัฒนาประเทศ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่5 (พ.ศ.2525-2529)ที่กล่าวถึงปัญหาเกี่ยวกับการบริหารราชการ ที่นอกจากจะไม่สนับสนุนการพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6(พ.ศ.2530 - 2534) จึงได้เริ่มให้ความสำคัญมากขึ้นต้องการปรับปรุงการ บริหารและทบทวนบทบาทรัฐในการพัฒนาประเทศ
ดังนั้น เมื่อมีการยึดอำนาจจากรัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัน โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(รสช.) เมื่อวันที่23 กุมภาพันธ์ 2534 จึงได้มีการปรับปรุงแก้ไขประกาศของคณะปฏิวัติในฉบับที่ 218โดยการเสนอพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2534 ใช้บังคับแทนเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2534ซึ่งมีเจตนารมย์ที่จะแก้ไขปัญหาสำคัญๆของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 เดิมใน 4 ประการ ที่สำคัญคือ
1) จำเป็นต้องกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วรนราชการต่าง ๆ ให้ชัดเจน เพื่อมิให้มีการปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกันระหว่างส่วนราชการต่าง ๆ
2) เพื่อให้การบริหารงานในระดับกระทรวงมีเอกภาพสามารถดำเนิน การให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐมนตรีกำหนดได้
3) เพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการมอบอำนาจในการปฏิบัติราชการแทนให้ครบถ้วนชัดเจน เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติราชการ
4) กำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดในการควบคุมดูแลการ ปฏิบัติราชการของข้าราชการซึ่งปฏิบัติราชการในเขตจังหวัดให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
จากเจตนารมณ์ ทั้ง 4 ประการจึงมีบทบัญญัติใน พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการ แผ่นดิน พ.ศ.2534หลายประการที่เปลี่ยนแปลงไปจากประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่218 ดังมีสาระสำคัญในแต่ละประเด็นดังนี้
1. การกำหนดอำนาจหน้าที่ของกรมจากปัญหาเกี่ยวกับการทำงานซ้ำซ้อนกันระหว่างต่างกระทรวงหรือภายในกระทรวงเดียวกันดังที่ได้มีผู้วิจัยและเสนอปัญหาไว้ อาทิเช่นมีหน่วยงานระดับกรมมากกว่ากรมที่ทำงานด้านการพัฒนาแหล่งน้ำหรืองาน ด้านการจัดการศึกษานอกโรงเรียนก็มีหน่วยงานระดับกรมมากกว่า กรม ที่ดูแลเรื่อง ดังกล่าว ดังนี้จึงมีบทบัญญัติไว้ดังนี้
"มาตรา 8 การจัดตั้งหรือยุบส่วนราชการ ตามมาตรา 7 ให้เป็นพระราช บัญญัติ......................................................................................................................... .....................................................................................................................................
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักเลขานุการรัฐมนตรีกรมหรือ ส่วนราชการ ที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาและให้ระบุ อำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการไว้ในพระราชกฤษฎีกาด้วย"
"มาตรา 74 พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการภายในสำนักเลขานุการ รัฐมนตรีและกรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเทียบเท่ากับหรือ มีฐานะเป็นกรมใดยังมิได้ระบุอำนาจหน้าที่ไว้ตามมาตรา 8 วรรคสี่ ให้ดำเนินการ แก้ไขให้เสร็จสิ้นภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ"
2. การเสริมสร้างเอกภาพในการบริหารงานระดับกระทรวง
ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานระดับกระทรวง ขาดเอกภาพในการบริหารงาน ไม่สามารถผนึกกำลังของกรมเพื่อแก้ไขปัญหาหลักของชาติ จึงได้มีการปรับปรุงแก้ไข บทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของกระทรวงและกรมให้เกิดการร่วมมือและผนึกกำลังกันโดยใช้แผนเป็นเครื่องมือทั้งในระดับกระทรวงและกรม ตามบทบัญญัติ ใน มาตรา 21มาตรา 23 มาตรา 32 ดังนี้
"มาตรา 21 กระทรวงนอกจากมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงและรัฐมนตรีช่วยว่า การกระทรวงให้มีปลัดกระทรวงคนหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(1) รับผิดชอบควบคุมราชการประจำ ในกระทรวงกำนดแนวทางและแผน การปฏิบัติราชการของกระทรวงและลำดับความสำคัญของแผนการปฏิบัติราชการประจำปี ของส่วนราชการในกระทรวงให้เป็นไปตามนโยบาย ที่รัฐมนตรีกำหนดรวมทั้งกำกับเร่งรัดติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวง..................................."
"มาตรา 23 สำนักงานปรัดกระทรวงมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวง และราชการที่คณะรัฐมนตรีมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรม ใดกรมหนึ่งในสังกัดกระทรวงโดยเฉพาะรวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการในกระทรวงให้เป็นไปตามนโยบายแนวทาง และแผนปฏิบัติราชการของกระทรวง ด้วย"
"มาตรา 32 ...........................................................................................
กรมมีอธิบดีเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรมให้เป็นไปตาม นโยบายแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวงและในกรณีที่มีกฏหมาย อื่นกำหนดอำนาจหน้าที่ของอธิบดีไว้เป็นการเฉพาะ การใช้อำนาจและการปฏิบัติ หน้าที่ตามกฏหมายดังกล่าวให้คำนึงถึงนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติ และแนวทางและแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงด้วย"
3. การปรับปรุงเรื่องการมอบอำนาจ
เนื่องจากหลักเกณฑ์วิธีการมอบอำนาจที่กำหนดไว้ตาม ปว.218 เดิมมีข้อ จำกัดเกี่ยวกับวิธีการมอบอำนาจบางกรณีที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ก่อนจัดทำเป็นคำสั่ง ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาและไม่สามารถมอบอำนาจช่วยต่อไปได้ จึงได้มีการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับการมอบอำนาจ ใหม่โดยให้คำนึงถึงการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนความ รวดเร็วในการปฏิบัติราชการ และการกระจายความรับผิดชอบตามสภาพของตำแหน่งของผู้รับ มอบอำนาจตามบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในมาตรา 38 มาตรา 39และมาตรา 40 ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญที่เปลี่ยนแปลงใหม่ได้แก่
1) การเปลี่ยนแปลงวิธีการมอบอำนาจโดยกำหนดให้การมอบอำนาจทุก กรณีให้ทำเป็นหนังสือทั้งนี้ผู้มอบอำนาจสามารถมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่ง ที่กำหนดไว้ในมาตรา38 โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากผู้ใดและไม่ต้องมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2) มีการเพิ่มตำแหน่งของผู้มอบอำนาจมากขึ้น โดยกำหนดเรื่องการมอบอำนาจของ ผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง (ในราชการบริหารส่วนกอง) และตำแหน่งหัวหน้า ส่วนราชการประจำจังหวัด นายอำเภอ และปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ (ในราชการบริหาร - ส่วนภูมิภาค ) นอกจากนี้ยังกำหนดตำแหน่งผู้รับมอบอำนาจ เพิ่มมากขึ้นด้วย
3) กำหนดให้มีการมอบอำนาจช่วงต่อไปได้ กรณีผู้ดำรงตำแหน่งใดได้มอบอำนาจให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถมอบอำนาจเรื่องนั้น ๆ ต่อไปยังรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดได้นอกจากนี้หากได้รับความเห็นชอบจาก ผู้มอบอำนาจข้างต้นแล้วก็สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่น ได้
4. การปรับปรุงอำนาจหน้าที่ผู้ว่าราชการจังหวัด
มีการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดใหม่ตามมาตรา57 โดย กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาข้าราชการส่วนภูมิภาคใน จังหวัดโดยยกเว้นข้าราชการทหาร ตุลาการ อัยการ ครู ข้าราชการในมหาวิทยาลัยและ ข้าราชการของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินและให้เพิ่มอำนาจหน้าที่ให้ผู้ว่าราช การจังหวัดเสนองบประมาณต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ตามโครงการหรือแผนพัฒนาจังหวัดและรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบ
นอกจากนี้ยังได้มีการกำหนดให้องค์กรที่ทำหน้าที่ในการเป็นที่ปรึกษาแก่ ผู้ว่าราชการจังหวัดและให้ความเห็นชอบการจัดแผนพัฒนาจังหวัดคือ"คณะกรรมการจังหวัด" (มาตรา53) ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานรองผู้ว่าราชการจังหวัด 1คนปลัดจังหวัดอัยการจังหวัดหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหัวหน้าส่วนราช การประจำจังหวัดซึ่งเป็นตัวแทนของกระทรวงต่างๆ กระทรวงละ 1 คนเป็นกรรมการจังหวัดโดยมีหัวหน้า สำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ
หากพิจารณาถึงสาระสำคัญของการเปลี่ยนแปลงตาม ปว.218 เป็น พ.ร.บ. ระเบียบบริหาราชการแผ่นดิน 2534อาจสรุปได้ว่าการเปลี่ยนแปลงใน4ประเด็น หลักตามเจตนารมย์หลักของพระราชบัญญัติฉบับนี้ เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียด ปลีกย่อยภายใต้โครงสร้างและกระบวนการบริหารงานดั้งเดิม ตาม แนวทางที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงวางรากฐานไว้นับแต่ เริ่มปฏิรูปการปกครองนั่นเอง

ศาลยุติธรรมไทย



ประวัติความเป็นมาศาลยุติธรรม
ศาลยุติธรรมมีความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยมีการปกครองแบบพ่อ ปกครองลูกโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเป็นผู้ทรงพระราชอำนาจในการวินิจฉัยชี้ ขาดคดีความให้แก่ราษฎรโดยยึดหลัก "คัมภีรพระธรรมศาสตร" ของอินเดีย ต่อมา เมื่อพระองค์มีราชกิจมากขึ้นไม่สามารถวินิจฉัยชี้ขาดคดีความด้วยพระองค์เองได้จึง ทรงมอบพระราชอำนาจนี้ให้แก่พราหมณ์ปุโรหิตผู้มีความรู้ช่วยวินิจฉัยคดีต่าง ๆ แทน พระองค์ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได ้โปรดฯให้มีการตรวจชำระกฎหมายที่มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาโดยนำมาปรับปรุง และบัญญัติขึ้นใหม่เรียกว่า "กฎหมายตราสามดวง"ศาลในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนต้นมีอยู่มากมายหลายศาลกระจายกันอยู่ตามกระทรวงกรมต่าง ๆและมีหน้าที่ พิจารณาพิพากษาคดีต่างพระเนตรพระกรรณแทนพระมหากษัตริย์ต่อมาเมื่อบ้านเมือง มีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น มีการติดต่อกับชาวต่างชาติ ลัทธิชาวตะวันตกได้แผ่ขยาย เข้ามาทำให้ระบบการศาลไทยมีการเปลี่ยนแปลงมิฉะนั้นอาจเป็นเหตุที่ก่อให้เกิดความ ขัดแย้งกับชาติตะวันตกได้ จึงมีการปฏิรูประบบการศาลไทยขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีบทบาทในการวางรากฐานระบบการศาลยุติธรรม โดยได้รวมศาลที่กระจัดกระจายอยู่ตามกระทรวงกรมต่าง ๆ ให้มารวมไว้ในท ี่แห่งเดียวกัน เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีดำเนินไปด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง เหมาะสมไม่ทำให้ราษฎรเดือดร้อน และในโอกาสที่กรุงเทพมหานครมีอายุครบ 100 ปี ซึ่งตรงกับวันที่21 เมษายน 2425 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทางขบวนพยุหยาตรามาวางศิลาก่อพระฤกษ์อาคารศาลสถิตย์ยุติธรรม และทรงโปรดฯ ให้จารึกพระราชปรารภในการจัดตั้งศาลยุติธรรมไว้ในแผ่นเงิน ซึ่งเรียกว่า"หิรัญบัตร" มีความกว้าง 9.5 ซ.ม. ยาว 37.2 ซ.ม. จำนวน 4 แผ่น ฝังอยู่ใต้อาคารศาลสถิตย์ยุติธรรมบนแผ่นเงินจารึกด้วยอักษรไทยที่สวยงามและทรงคุณค่ามาก แสดงให้เห็นถึงพระบรมราโชบายในการปกครองแผ่นดินว่ามีพระราชประสงค์ให้ตั้งศาลขึ้นเพื่อทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดอรรถคดี ทรงเล็งเห็นว่าบ้านเมืองจะอยู่ด้วยความสงบสุขร่มเย็นต้องอาศัยการศาลเป็นสำคัญจึงทรงจัดระบบกฎหมายและระเบียบทางการศาลขึ้นใหม่เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของชาติตะวันตก โดยมีกรมหลวงพิชิตปรีชากรและพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์เป็นกำลังสำคัญในการแก้ไขกฎหมายและปฏิรูประบบการศาลยุติธรรมให้เจริญรุ่งเรืองเป็นที่ยอมรับของนานาอารยประะเทศ ศาลจึงเป็นสถาบันที่ประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรมให้แก่ประชาชนสืบมาตราบเท่าทุกวันนี้ และในโอกาสที่กรุงเทพมหานครครบรอบ 220 ปี ซึ่งตรงกับศาลยุติธรรมครบรอบ120 ปี ในปี พ.ศ. 2545สำนักงานศาลยุติธรรมจึงร่วมกันจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ศาลไทยและหอจดหมายเหตุขึ้นเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ที่มีต่อศาลยุติธรรม จึงถือเอาวันที่ 21 เมษายนของทุกปีเป็น "วันศาลยุติธรรม"

รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)

รายชื่อคณะรัฐมนตรีไทย

คณะรัฐมนตรีไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันประเทศไทยมีคณะรัฐมนตรีทั้งหมด 59 คณะ ดังนี้

คณะที่1

นายกรัฐมยตรี : พระยามโนปกรณ์นิติธาดา(ก้อน หุตะสิงห์)
เริ่มวาระ : 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475
สิ้นสุดวาระ : 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
ระยะเวลา : 165 วัน
สิ้นสุดลงโดย : ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475
คณะที่2
เริ่มวาระ : 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
สิ้นสุดวาระ : 1 เมษายน พ.ศ. 2476
สิ้นสุดลงโดย : รัฐประหาร โดยพระราชกฤษฎีกา
คณะที่3
เริ่มวาระ 1 เมษายน พ.ศ. 2476
สิ้นสุดวาระ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
สิ้นสุดลงโดย ลาออก และรัฐประหาร (นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา บังคับให้ลาออก)[1]

คณะที่4
นายกรัฐมนตรี พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา(พจน์ พหลโยธิน)
เริ่มวาระ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
สิ้นสุดวาระ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476
สิ้นสุดโดย ลาออก (เลือกตั้งทั่วไป)
คณะที่5
เริ่มวาระ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476
สิ้นสุดวาระ 22 กันยายน พ.ศ. 2477
สิ้นสุดโดย ลาออก (สภาไม่อนุมัติสนธิสัญญาจำกัดยางของรัฐบาล)
คณะที่6
เริ่มวาระ 22 กันยายน พ.ศ. 2477
สิ้นสุดวาระ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480
สิ้นสุดโดย ลาออก (กระทู้เรื่องขายที่ดินพระคลังข้างที่)
คณะที่7
เริ่มวาระ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480
สิ้นสุดวาระ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480
สิ้นสุดลงโดย สภาครบวาระ (เลือกตั้งทั่วไป)
คณะที่8
เริ่มวาระ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480
สิ้นสุดวาระ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481
สิ้นสุดโดย ยุบสภา[2] (เลือกตั้งทั่วไป)
คณะที่9
นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม(หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ))
เริ่มวาระ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481
สิ้นสุดวาระ 7 มีนาคม พ.ศ. 2485
สิ้นสุดโดย ลาออก (เปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีให้เหมาะสม)
คณะที่10
เริ่มวาระ 7 มีนาคม พ.ศ. 2485
สิ้นสุดวาระ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487
สิ้นสุดโดย ลาออก (สภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติร่างพระราชบัญญัติ และพระราชกำหนด)
คณะที่11
นายกรัฐมนตรี พันตรี ควง อภัยวงศ์หลวงโกวิทอภัยวงศ์
เริ่มวาระ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487
สิ้นสุดวาระ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488
สิ้นสุดโดย ลาออก (สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลง)
คณะที่12
นายกรัฐมนตรี นายทวี บุณยเกตุ
เริ่มวาระ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488
สิ้นสุดวาระ 17 กันยายน พ.ศ. 2488
ระยะเวลา 17 วัน
สิ้นสุดโดย ลาออก (เปิดโอกาสให้ผู้ที่เหมาะสมเข้ามาแทน)
คณะที่13
นายกรัฐมนตรี หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช
เริ่มวาระ 17 กันยายน พ.ศ. 2488
สิ้นสุดวาระ 31 มกราคม พ.ศ. 2489
สิ้นสุดโดย ยุบสภา (เลือกตั้งทั่วไป)
คณะที่14
นายกรัฐมนตรี พันตรี ควง อภัยวงศ์หลวงโกวิทอภัยวงศ์
เริ่มวาระ 31 มกราคม พ.ศ. 2489
สิ้นสุดวาระ 24 มีนาคม พ.ศ. 2489
สิ้นสุดโดย ลาออก (แพ้มติสภาที่เสนอพระราชบัญญัติที่รัฐบาลรับไม่ได้)
คณะที่15
นายกรัฐมนตรี นายปรีดี พนมยงค์(หลวงประดิษฐ์มนูธรรม)
เริ่มวาระ 24 มีนาคม พ.ศ. 2489
สิ้นสุดวาระ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489
สิ้นสุดโดย ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489 (เลือกตั้งทั่วไป)
คณะที่16
เริ่มวาระ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489
สิ้นสุดวาระ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489
สิ้นสุดโดย ลาออก (ถูกใส่ความกรณีสวรรคตรัชกาลที่ 8)
คณะที่17
นายกรัฐมนตรี พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์(หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์)
เริ่มวาระ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489
สิ้นสุดวาระ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490
สิ้นสุดวาระโดย ลาออก (หลังจากการอภิปรายทั่วไป 7 วัน 7 คืน)
คณะที่18
เร่มวาระ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490
สิ้นสุดวาระ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
สิ้นสุดโดย รัฐประหาร นำโดยจอมพล ผิน ชุณหะวัณ
คณะทหารแห่งชาตินำโดย จอมพล ผิน ชุณหะวัณ
เริ่มวาระ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
สิ้นสุดวาระ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
ระยะเวลา 3 วัน
สิ้นสุดโดย ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2490 และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ [3]
คณะที่19
นายกรัฐมนตรี พันตรี ควง อภัยวงศ์หลวงโกวิทอภัยวงศ์
เริ่มวาระ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
สิ้นสุดวาระ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491
สิ้นสุดโดยลาออก (เป็นรัฐบาลรักษาการเพื่อจัดเลือกตั้งทั่วไป)
คณะที่20
เริ่มวาระ21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491
สิ้นสุดวาระ 8 เมษายน พ.ศ. 2491
สิ้นสุดโดย ลาออก (คณะรัฐประหารบังคับให้ลาออกภายใน 24 ชั่วโมง (รัฐประหารเงียบ))
คณะที่21
นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม(หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ))
เริ่มวาระ 8 เมษายน พ.ศ. 2491
สิ้นสุดวาระ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2492
สิ้นสุดโดย ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 (เลือกตั้งทั่วไป)
คณะที่22
เริ่มวาระ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2492
สิ้นสุดวาระ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
สิ้นสุดโดย คณะบริหารประเทศชั่วคราวประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 อีกครั้งหนึ่งไปพลางก่อน (รัฐประหารตนเอง)
คณะที่23
เริ่มวาระ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
สิ้นสุดวาระ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494
สิ้นสุดโดย มีการแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ขึ้นใหม่
คณะที่24
เริ่มวาระ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494
สิ้นสุดวาระ 24 มีนาคม พ.ศ. 2495
สิ้นสุดโดย ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2495 (เลือกตั้งทั่วไป)
คณะที่25
เริ่มวาระ 24 มีนาคม พ.ศ. 2495
สิ้นสุดวาระ 21 มีนาคม พ.ศ. 2500
สิ้นสุดโดย สภาผู้แทนราษฎรครบวาระ (เลือกตั้งทั่วไป)
คณะที่26
เริ่มวาระ 21 มีนาคม พ.ศ. 2500
สิ้นสุดวาระ 16 กันยายน พ.ศ. 2500
สิ้นสุดโดย รัฐประหาร นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
คณะทหารนำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ในฐานะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร[4]
เริ่มวาระ 16 กันยายน พ.ศ. 2500
สิ้นสุดวาระ 21 กันยายน พ.ศ. 2500
ระยะเวลา 5 วัน
สิ้นสุดโดย แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ [5]
คณะที่27
นายกรัฐมนตรี นายพจน์ สารสิน
เริ่มวาระ 21 กันยายน พ.ศ. 2500
สิ้นสุดวาระ 1 มกราคม พ.ศ. 2501
สิ้นสุดโดย ลาออก (เลือกตั้งทั่วไป)
คณะที่28
นายกรัฐมนตรี จอมพล ถนอม กิตติขจร
เริ่มวาระ 1 มกราคม พ.ศ. 2501
สิ้นสุดวาระ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
สิ้นสุดโดย ลาออกและรัฐประหาร นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
คณะปฏิวัตินำโดยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
เริ่มวาระ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
สิ้นสุดวาระ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502
สิ้นสุดโดย ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ [6]
คณะที่29
นายกรัฐมนตรี จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
เริ่มวาระ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502
สิ้นสุดวาระ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506
สิ้นสุดโดย นายกรัฐมนตรีถึงแก่อสัญกรรม
คณะที่30
นายกรัฐมนตรี จอมพลถนอม กิตติขจร
เริ่มวาระ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2506
สิ้นสุดวาระ 7 มีนาคม พ.ศ. 2512
สิ้นสุดโดย ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2511 (เลือกตั้งทั่วไป)
คณะที่31
เริ่มวาระ 7 มีนาคม พ.ศ. 2512
สิ้นสุดวาระ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
สิ้นสุดโดยรัฐประหาร โดยจอมพล ถนอม กิตติขจร (รัฐประหารตนเอง)
คณะปฏิวัตินำโดยจอมพล ถนอม กิตติขจร
เริ่มวาระ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
สิ้นสุดวาระ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2515
สิ้นสุดโดย ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2515 และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี [7]
คณะที่32
นายกรัฐมนตรี จอมพล ถนอม กิตติขจร
เริ่มวาระ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2515
สิ้นสุดวาระ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
สิ้นสุดโดย ลาออก (เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา)
คณะที่33
นายกรัฐมนตรี นายสัญญา ธรรมศักดิ์
เริ่มวาระ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
สิ้นสุดวาระ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
สิ้นสุดโดย ลาออก (อ้างเหตุร่างรัฐธรรมนูญไม่เสร็จ)
คณะที่34
เริ่มวาระ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
สิ้นสุดวาระ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
สิ้นสุดโดย ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 (เลือกตั้งทั่วไป)
คณะที่35
นายกรัฐมนตรี หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช
เร่มวาระ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
สิ้นสุดวาระ 14 มีนาคม พ.ศ. 2518
สิ้นสุดโดย ไม่ได้รับความไว้วางใจ จากส.ส. ในการแถลงนโยบาย
คณะที่36
นายกรัฐมนตรี พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
เริ่มวาระ 14 มีนาคม พ.ศ. 2518
สิ้นสุดวาระ 20 เมษายน พ.ศ. 2519
สิ้นสุดโดย ยุบสภา[8] (เลือกตั้งทั่วไป)
คณะที่37
นายกรัฐมนตรี หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช
เริ่มวาระ 20 เมษายน พ.ศ. 2519
สิ้นสุดวาระ 25 กันยา ยน พ.ศ. 2519
สิ้นสุดโดย ลาออก (วิกฤตการณ์จอมพล ถนอม กลับประเทศเพื่ออุปสมบท)
คณะที่38
เริ่มวาระ 25 กันยายน พ.ศ. 2519
สิ้นสุดวาระ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
ระยะเวลา 11 วัน
สิ้นสุดโดย รัฐประหาร โดยพลเรือเอก สงัด ชลออยู่
คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินนำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่
เริ่มวาระ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
สิ้นสุดวาระ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519
ระยะเวลา 2 วัน
สิ้นสุดโดย แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ และประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2519 เป็นผลให้คณะปฏิรูปฯ แปรสภาพเป็น สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
คณะที่39
นายกรัฐมนตรี นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
เริ่มวาระ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519
สิ้นสุดวาระ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520
สิ้นสุดโดย รัฐประหาร โดยพลเรือเอก สงัด ชลออยู่
คณะปฏิวัตินำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่
เริ่มวาระ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520
สิ้นสุดวาระ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520
ระยะเวลา 1 เดือน
สิ้นสุดโดย ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2520 และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่
คณะที่ 40
นายกรัฐมนตรีพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
เริ่มวาระ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520
สิ้นสุดวาระ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
สิ้นสุดโดย ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 (เลือกตั้งทั่วไป)
คณะที41
เริ่สมวาระ12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
สิ้นสุดวาระ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523
สิ้นสุดโดย ลาออก (วิกฤตการณ์น้ำมันและผู้ลี้ภัย)
คณะที่ 42
นายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
เริ่มวาระ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523
สิ้นสุดวาระ 30 เมษายน พ.ศ. 2526
สิ้นสุดโดย ยุบสภา[9] (เลือกตั้งทั่วไป)
คณะที่ 43
เริ่มวาระ 30 เมษายน พ.ศ. 2526
สิ้นสุดวาระ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529
สิ้นสุดโดย ยุบสภา[10] (เลือกตั้งทั่วไป)
คณะที่44
เริ่มวาระ5 สิงหาคม พ.ศ. 2529
สิ้นสุดวาระ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531
สิ้นสุดโดย ยุบสภา[11] (เลือกตั้งทั่วไป)
คณะที่45
นายกรัฐมนตรี พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
เริ่มวาระ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531
สิ้นสุดวาระ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
สิ้นสุดโดย ลาออก แล้วจัดตั้งรัฐบาลใหม่
คระที่46
เริ่มวาระ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
สิ้นสุดวาระ23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
สิ้นสุดโดย รัฐประหาร นำโดย พลเอก สุนทร คงสมพงษ์
คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)นำโดย พลเอก สุนทร คงสมพงษ์
เริ่มวาระ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
สิ้นสุดวาระ 1 มีนาคม พ.ศ. 2534
ระยะเวลา 5 วัน
สิ้นสุดโดย ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่
คณะที่ 47
นายกรับมนตรี นายอานันท์ ปันยารชุน
เริ่มวาระ 2 มีนาคม พ.ศ. 2534
สิ้นสุดวาระ 7 เมษายน พ.ศ. 2535
สิ้นสุดโดย ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 (เลือกตั้งทั่วไป)
คณะที่ 48
นายกรับมนตรี พลเอก สุจินดา คราประยูร
เริ่มวาระ 7 เมษายน พ.ศ. 2535
สิ้นสุดวาระ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
สิ้นสุดโดย ลาออก (เกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ)
นายกรัฐมนตรี นายมีชัย ฤชุพันธุ์
เริ่มวาระ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
สิ้นสุดวาระ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535
คณะที่49
นายกรัฐมนตรี นายอานันท์ ปันยารชุน
เริ่มวาระ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535
สิ้นสุดวาระ 23 กันยายน พ.ศ. 2535
สิ้นสุดโดย ยุบสภา[12] (เลือกตั้งทั่วไป)
คณะที่ 50
นายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย
เริ่มวาระ 23 กันยายน พ.ศ. 2535
สิ้นสุดวาระ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
สิ้นสุดโดย ยุบสภา[13] (เลือกตั้งทั่วไป)
คณะที่ 51
นายกรัฐมนตรี นายบรรหาร ศิลปอาชา
เริ่มวาระ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
สิ้นสุดวาระ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
สิ้นสุดโดย ยุบสภา[14] (เลือกตั้งทั่วไป)
คณะที่ 52
นายกรัฐมนตรี พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
เริ่มวาระ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
สิ้นสุดวาระ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
สิ้นสุดโดย ลาออก (วิกฤตการณ์เศรษฐกิจ)
คณะที่53
นายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย
เริ่มวาระ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
สิ้นสุดวาระ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
สิ้นสุดโดย ยุบสภา[15] (เลือกตั้งทั่วไป)
คณะที่54
นายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร
เริ่มวาระ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
สิ้นสุดวาระ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548
ระยะเวลา 1461 วัน
สิ้นสุดโดย สภาฯ ครบวาระ 4 ปี
คณะที่55
เริ่มวาระ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548
สิ้นสุดวาระ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
สิ้นสุดโดย ยุบสภาเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 มีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 แต่ต่อมาถูกศาลพิพากษาให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ต่อมาเกิด รัฐประหาร โดยพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ระหว่างที่ ครม.รักษาการเพื่อรอการเลือกตั้งครั้งใหม่
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ (คปค.)นำโดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
เริ่มวาระ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
ส้นสุดวาระ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
ระยะเวลา 12 วัน
สิ้นสุดโดย ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่
คณะที่56
นายกรัฐมนตรี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
เริ่มวาระ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
สิ้นสุดวาระ 29 มกราคม พ.ศ. 2551
ระยะเวลา 486 วัน
สิ้นสุดโดย ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 (เลือกตั้งทั่วไป)
คณะที่57
นายกรัฐมนตรี นายสมัคร สุนทรเวช
เริ่มวาระ 29 มกราคม พ.ศ. 2551
สิ้นสุดวาระ 9 กันยายน พ.ศ. 2551
ระยะเวลา 223 วัน
สิ้นสุดโดย ศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินให้พ้นจากตำแหน่ง เพราะกระทำการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ[16]
นายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
เริ่มวาระ 9 กันยายน พ.ศ. 2551
สิ้นสุดวาระ 18 กันยายน พ.ศ. 2551
ระยะเวลา 9 วัน
คณะที่58
นายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
เริ่มวาระ 18 กันยายน พ.ศ. 2551
สิ้นสุดวาระ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ระยะเวลา 75 วัน
สิ้นสุดโดย ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ยุบพรรคพลังประชาชนและตัดสิทธิ์ทางการเมืองของคณะกรรมการบริหารพรรคคนละ 5 ปี
นายกรัฐมนตรี นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
เริ่มวาระ2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
สิ้นสุดวาระ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ระยะเวลา 15 วัน
คณะที่59
นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
เริ่มวาระ17 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ปัจจุบัน